ประวัติของเทคโนโลยีสิ่งทอนาโน

เทคโนโลยีสิ่งทอนาโน คือ สิ่งทอธรรมดาสามัญทั่วไปที่เรารู้จักคุ้นเคยกันดี หากแต่มีการนำ ‘เทคโนโลยีนาโน’ เข้ามาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิต หรือใส่เพิ่มเติมหลังจากการผลิต เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้สิ่งทอเหล่านั้น มีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มมากขึ้น เช่น ป้องกันแบคทีเรียเจริญเติบโต , กันน้ำแบบใบบัว เป็นต้น ซึ่งสิ่งทอนาโนส่วนมากจะอุดมไปด้วยอนุภาคนาโน เคลือบอยู่บนพื้นผิวบางระดับนาโนหรือผสมอยู่ในเส้นใยผ้า จนกระทั่งก่อให้เกิดคุณสมบัติใหม่ขึ้นมา

ความพิเศษของสิ่งทอนาโน ก่อให้เกิดคุณสมบัติสำคัญๆหลายประการ เช่น

  • กันน้ำหรือสะท้อนน้ำ เหมือนผิวของใบบัว
  • ป้องกันรังสี UV
  • ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย
  • ป้องกันไฟฟ้าสถิต
  • ป้องกันการยับ
  • กักเก็บกลิ่นหอมไว้ได้อย่างยาวนาน
  • คุณสมพิเศษอื่นๆ เช่น มีความเบา , นุ่มลื่น , ผสมผสานกับผ้าได้ทุกประเภท เป็นต้น

ประวัติของผู้คิดค้น Nanotechnology

Richard Feynman เป็นชายที่ได้รับการยอมรับว่า เป็นคนแรกที่แสดงให้เห็นถึงการนำ Nanotechnology มาใช้ได้จริง โดยมาจากการบรรยายเรื่อง ‘There’s plenty of room at the bottom’ ณ California Institute of Technology เมื่อปี ค.ศ. 1959 เขาแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ รวมทั้งประโยชน์ที่นำมาใช้ต่อยอด

ปี ค.ศ. 1974 ศาสตราจารย์ Norio Taniguchi แห่ง Tokyo University of Science เป็นคนแรกที่ใช้คำว่า ‘Nanotechnology’

‘Nanotechnology’ เป็นเทคโนโลยี ทางด้านกระบวนการจัดการ , การสร้าง ตลอดจนการวิเคราะห์เพื่อพัฒนา , วัสดุ , อุปกรณ์ เครื่องจักร รวมทั้งสินค้าต่างที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ในระดับนาโนเมตร และเกี่ยวข้องกับการออกแบบหรือการประดิษฐ์เครื่องมือต่างๆ เพื่อนำมาสร้างในระดับที่เล็กมาก ๆ เช่น ตรวจสอบอะตอมและโมเลกุล เป็นต้น สามารถทำออกมาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เป็นต้น อันทำให้โครงสร้างของวัสดุ , อุปกรณ์ มีคุณสมบัติดีเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นทางด้านกายภาพ , เคมี , ชีวภาพ ซึ่งสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้สืบต่อไป

สำหรับในประเทศไทย ทีมศูนย์ Nanotech เล็งเห็นถึงความสำคัญของการนำนาโนเทคโนโลยีมาใช้ในงานหัตถอุตสาหกรรม โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาผ้าทอพื้นเมืองของไทย ให้มีการพัฒนาก้าวล้ำไปในระดับนานาชาติ

ทำให้โรงงานเคลือบผ้านาโน ถูกสร้างขึ้น ณ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ สร้างขึ้นเพื่อเป็นโรงงานต้นแบบมีหน้าที่เคลือบผ้าทอพื้นเมือง มาเคลือบอย่างเหมาะสมตามแต่ล่ะเนื้อผ้า ซึ่งเป็นการนำนาโนเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ให้เข้าถึงง่ายและเป็นการยกระดับสินค้าพื้นเมือง ถือได้ว่าโรงงานแห่งนี้ ได้รับประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ของแวดวงหัตถอุตสาหกรรมซึ่งจะมาช่วยปรับปรุงรวมทั้งเพิ่มมูลค่าผ้าของไทยให้ดูมีคุณค่ามากขึ้น นอกจากนี้ความสำเร็จอีกชิ้นหนึ่งคือ เห็นผลงานอย่างเป็นรูปธรรมอีกทั้งยังเป็นการร่วมมือจากทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ ภาครัฐ , การศึกษา และอุตสาหกรรม